วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียภาพทางดนตรี - นาฏศิลป์

สุนทรียภาพทางความงามของนาฎศิลป์นั้นประกอบด้วยคุณลักษณที่ดี 5 ประการคือ ตัวละครสวยงาม ท่ารำสวยงาม ขับร้องเพราะ ดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการแสดงเพราะ บทกลอนเพราะ และรูปแบบสื่อความหมายโดยเฉพาะท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องการสื่อความหมายให้เข้าใจ ที่เรียกว่า"ภาษาท่า" เช่น กวักมือเข้า หมายถึง เรียกให้มาหา โบกมือออก เรียกว่า ให้ออกไป เป็นต้น ท่าทางที่เลียนแบบธรรมชาตินี้อาจ จำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา ฯลฯ

2. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ

3. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ ฯลฯ

ในการร่ายรำท่าต่างๆดังที่กล่าวมานี้ ได้นำมาประกอบบทร้อง เพลงและดนตรี เพื่อต้องการให้เกิดความสวยงามและสง่างามของ ลีลา ท่ารำ โดยอาศัยความงาม ทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทร้อง บทพาทย์ และเพลงประกอบดนตรีนี้ทางนาฎศิลป์ เรียกว่า การตีบทหรือการรำบท หรือจะเรียกว่า "ภาษานาฎศิลป์" ก็ได้





ที่มาของนาฎศิลป์ไทย

ที่มาของนาฏศิลป์ไทยนาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก

๑. การเลียนแบบธรรมชาติ แบ่งเป็น ๓ ขึ้น คือ
ขั้นต้น
เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน

ขั้นต่อมา
เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก

ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน

๒. การเซ่นสรวงบูชา มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

๓. การรับอารยธรรมของอินเดีย เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน

1. ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ของเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย?


ตอบ หากเรากำหนดให้คุณค่าหมายถึง คุณสมบัติดังเช่นตัวอย่าง นั่นก็หมายความว่า คุณสมบัติก็เป็นลักษณะหรือเป็นส่วนประกอบของคุณค่าด้วยเช่นกัน แต่ความเหลว ความร่วน ความแข็ง เป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้จากสิ่งเร้าหรือการรับสัมผัส ตัดสินว่ามันเป็นสิ่งที่เห็นจริง ๆ }

2. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองเป็นคนละเรื่องของคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด ?

ตอบ อยู่ที่อารมณ์และความรู้สึกของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะรู้สึกว่าอย่างไรกับสิ่งเร้า แล้วตัดสินใจว่า สิ่งนั้นมีคุณค่าในตัวมันเองหรือไม่

3. ถ้าคุณค่าของตัวมันเอง หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น

ตอบ ถ้าคุณค่าหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น นั้นคือ คุณค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่คุณค่ามีความสัมพันธ์กับจิตใจ คือ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นลอย ๆ แต่เมื่อสิ่งนั้นเอื้อประโยชน์กับสิ่งอื่น ๆ ก็แสดงว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามีอิทธิพลต่อสิ่งอื่น ๆ หรือมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้านบวกและด้านลบก็ตามแสดงว่าคุณค่ามีความสัมพันธภาพกับจิตใจ หรือเกิดจากจิตใจมนุษย์กับวัตถุด้วยเช่นใจ

4. ถ้าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึงการดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ ถ้าหากเงื่อนไขบกว่าคุณค่าในตัวของมันเองหมายถึง การดำรงอยู่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใดหรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองก็มีได้เพราะคุณค่าถูกกำหนดจากมนุษย์ขึ้นมาเท่านั้นเอง จะนำมาใช้หรือไม่นำมาใช้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความมีคุณค่าก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่คำกล่าวที่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกจะอยู่ไม่ได้เลยถ้าไม่มีสัมพันธ์กับสิ่งใดนั้นเป็นการแสดงว่า จิตใจเรามีปฏิกริยากับสถานการณ์หรือวัถตุขณะนั้นแล้วเรานำความรู้สึกหรือการได้รับรู้อารมณ์มาปรุงแต่งทำให้เกิดเป็นสัมพันธภาพระหว่างกัน ก็เลยมองว่า ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ต่อกัน

5. การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดด ๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด

ตอบ การพิจารณาปัญหาอื่น ๆ กับปัญหาคุณค่าเป็นเพียงการตัดสินในเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ถ้าคิดว่าคุณค่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ กับความหมายว่าปัญหาของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ แต่จิตนิยมบอกว่าขึ้นอยู่กับจิตใจและความรู้สึกของคนที่ตัดสินซึ่งไม่เหมือนกันทุกคนบางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญหาของบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่บางคนอาจจะคิดว่าปัญหาเกิดขึ้นเพราะเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมหรือบริบทของสิ่งนั้น

สรุป

จากคำถามทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบได้ตายตัวแน่นอนขึ้นอยู่กับว่าเรากำหนดให้เงื่อนไขนั้นเป็นอย่างไรและมุมมองของแต่ละคนที่แตกต่างกันก็ทำให้ความคิดเห็นของแต่ละคนก็แตกต่างกันด้วย การตัดสินคุณค่าในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกของแต่ละคนวัตถุบางอย่างอาจมีคุณค่ามากสำหรับคนหนึ่งแต่อาจจะหาคุณค่าไม่ได้เลยสำหรับอีกคนหนึ่งก็ได้ คุณค่าของความงามจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมนุษย์และความสัมพันธภาพกับวัตถุรับสัมผัส ในขณะนั้น

ไม่มีความคิดเห็น: